Table of Contents
ชวนร่วมบริจาคโลหิต เหตุเลือดสำรองในคลังขาดแคลน ต้องเลื่อนผ่าตัดผู้ป่วย
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เผยสถานการณ์ความต้องการเลือดในช่วงตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2562 เป็นต้นมา พบว่า
ปริมาณเลือดสำรองในคลังของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากมีผู้บริจาคโลหิตลดน้อยลง โดยขณะที่มีผู้บริจาคโลหิตลดลง จากปกติจะต้องได้รับโลหิตบริจาคตามเป้าหมายคือ 2,0002,500 ยูนิตต่อวัน แต่ได้รับโลหิตบริจาคเฉลี่ย 1,5001,700 ยูนิตต่อวัน เท่านั้น
จึงเกิดการขาดแคลนสะสมจนทำให้ปริมาณโลหิตคงคลังลดน้อยลงไป จนถึงขณะนี้เริ่มส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในโรงพยาบาลต่างๆ โดยเฉพาะในโรงพยาบาลใหญ่ๆ หลายแห่งที่ต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดให้ผู้ป่วย รวมทั้งผู้ป่วยเด็กโรคเลือด อาทิ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ฮีโมฟีเลีย ที่ต้องใช้เลือดในปริมาณมากและต่อเนื่องตลอดชีวิต
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จึงขอเชิญชวนผู้บริจาคโลหิตและประชาชนทั่วไป ร่วมบริจาคโลหิตเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ โดยสามารถติดต่อบริจาคโลหิตได้ที่
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
ศูนย์รับบริจาคโลหิตและพลาสมา
สถานีกาชาดที่ 11 วิเศษนิยม บางแค
หรือบริจาคได้ที่สาขาบริการโลหิต 6 แห่งในกรุงเทพฯ ได้แก่
โรงพยาบาลตำรวจ
โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
โรงพยาบาลรามาธิบดี
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
สถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า
และโรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
ส่วนภูมิภาค บริจาคโลหิตได้ที่ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติและงานบริการโลหิต รวม 13 แห่ง ได้แก่ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ จ.ลพบุรี ชลบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่
นครศรีธรรมราช (ทุ่งสง) สงขลา ภูเก็ต และงานบริการโลหิต สถานีกาชาดหัวหินเฉลิมพระเกียรติ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และสาขาบริการโลหิตโรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และจัดหาผู้บริจาคโลหิต 0 2256 4300,0 2263 960099 ต่อ 1101,1760,1761
รายละเอียดเพิ่มเติม https://morningnews.bectero.com/socialcrime/24Oct2019/153863
เรื่องเล่าเช้านี้ (Morning News)24 ตุลาคม 2562
ติดตามความเคลื่อนไหวข่าวสารได้ก่อนใครได้ที่นี่
เรื่องเล่าเช้านี้.com : https://morningnews.bectero.com
facebook : https://www.facebook.com/MorningNewsTV3
Twitter : https://twitter.com/MorningNewsTV3
Official LINE : @ruenglao
รำลึกวันวาน 44 ปี ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
วันที่ 11 ตุลาคม 2556 แพทย์หญิงสร้อยสอางค์ พิกุลสด ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารสภากาชาดไทย สำนักงานต่างๆ ที่มาร่วมอวยพรวันเนื่องในโอกาสสวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 44 ปี ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ( 13 ตุลาคม 2556) ในงาน \” รำลึกวันวาน 44 ปี ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ\” โดยจัดให้มีพิธีบำเพ็ญกุศล ณ ห้องจุมภฎ 23 ชั้น 9 อาคารเฉลิมพระเกียรติบรมราชินีนาถ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
4 พันธกิจกาชาด ตอน : การจัดหาโลหิตเชิงรุก
นับแต่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถือกำเนิดขึ้น เป็นเวลากึ่งศตวรรษแล้ว โดยมีหน้าที่ในการจัดหาโลหิต ให้ได้ปริมาณที่เพียงพอ ปลอดภัย และมีคุณภาพ จาก“ผู้บริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน” เพื่อนำไปสู่การรักษาผู้ป่วยทั่วประเทศ ทั้งในรูปแบบโลหิต ส่วนประกอบโลหิต และผลิตภัณฑ์โลหิต
ในแต่ละวันศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จะต้องใช้โลหิตเป็นจำนวนมาก นอกจากจะแจกจ่ายให้กับโรงพยาบาลภายในสังกัดสภากาชาดไทยแล้ว ยังดำเนินการแจกจ่ายโลหิตไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ ที่มีรถวิ่งเข้ามารับโลหิตบริจาคทุกวัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสำรองโลหิตไว้ใช้ทั้งในยามปกติและยามที่เกิดภัยทางด้านสุขภาพของประชาชน ซึ่งเรียกได้ว่า ภัยด้านสุขภาพของประชาชนนั้นไม่เลือกเวลา ไม่เลือกฤดูกาล เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
การบริหารจัดการด้านการรณรงค์ขอรับบริจาคโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องแม้บางช่วงจะเกิดวิกฤตขาดเลือดบ้าง ก็จะผ่านไปด้วยดีจากศรัทธาของผู้บริจาค
แต่สำหรับครั้งนี้ การขาดแคลนโลหิตเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด19 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติเงียบเหงา จำนวนผู้บริจาคโลหิตลดลง ส่งผลให้มีปริมาณโลหิตไม่เพียงพอจ่ายให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ
แม้สถานการณ์โควิด19 จะระบาดอย่างต่อเนื่อง แต่การประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้มีจิตศรัทธามาร่วมบริจาคโลหิต ไม่ได้ยอมแพ้เลย บุคลากรของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติยังคงออกปฏิบัติงานทุกวัน กิจกรรมต่าง ๆ ถูกจัดขึ้นเพื่อเชิญชวนคนมาบริจาคโลหิต มาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดในสถานที่ที่เปิดรับบริจาคโลหิตก็เข้มข้น เคร่งครัดตามกฎของศบค.บุคคลสำคัญในวงการแพทย์ ออกมายืนยันความปลอดภัยในการมาบริจาคโลหิตและยืนยันด้วยว่าพลาสม่าของผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคโควิด19 ยังสามารถนำไปรักษาผู้ติดเชื้อได้ด้วย
ผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านสามารถมาบริจาคโลหิต เพื่อต่อชีวิต ต่อลมหายใจ และเป็นความหวังแก่ผู้ป่วยได้ตามสถานที่ที่ท่านสะดวกไม่ว่าจะเป็นที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย หน่วยรับบริจาคโลหิตประจำที่ หน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ทุกแห่ง ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ และโรงพยาบาลสาขาบริการโลหิต และโรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ ทุกที่ปลอดภัย ได้มาตรฐานตาม ศบค.กำหนด
สภากาชาดไทย พันธกิจกาชาด บริจาคโลหิต
(รีวิว) การบริจาคเลือดที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ❤️
วันนี้มารีวิวการบริจาคโลหิตที่สภากาชาติไทยเป็นครั้งแรกค่ะ คลิปนี้น่าจะช่วงไม่ให้เพื่อนๆที่กำลังจะไปบริจาคสามารถรู้ขั้นตอนโดยไม่เอ๋อได้😊👍
เว็บศูนย์บริการโลหิต👉 https://blooddonationthai.com
เวียงเขียน blog ไว้ด้วยนะคะ
https://bit.ly/3vSI1hQ
ในนั้นจะมีข้อมูลหรือสาระแน่นกว่านี้😂 เพื่อนๆคนไหนชอบอ่าน ไปลองอ่านได้นะคะ❤️
เนื่องจากคลิปนี้เป็นคลิปแรกของเวียงที่ทำจริงจัง และอัดแบบไม่ได้ตั้งตัว คือคิดได้ตอนกำลังดื่มน้ำที่สภากาชาดเลย5555
หากผิดพลาดตรงไหนต้องขออภัยด้วยนะคะ (ติชมมาได้นะคะ)😊
ฝากกดไลค์ กดแชร์ แล้วถ้าเพื่อนๆคนไหนพร้อม อย่าลืมไปบริจาคเลือดกันค่ะ🤟
🔆🔆🔆
Facebook: https://bit.ly/3j37wKL
Instagram: https://bit.ly/3gV11H1
บริจาคเลือด สภากาชาดไทย โควิดทำไรดี โควิด เบื่อๆทำไรดี blooddonation redcrossthailand ศูนย์บริการโลหิต พัฒนาตัวเอง
รีวิว เล่าประสบการณ์ เล่าประสบการณ์การบริจากเลือด
Plus 1 ทำไมต้องบริจาคโลหิตเพิ่มขึ้นอีกปีละ 1 ครั้ง
จากสถิติความถี่การบริจาคโลหิตทั่วประเทศ ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ปี 2561 พบว่า มีผู้บริจาคโลหิตปีละ 1 ครั้ง จำนวน 1 ล้านคน
เพียงแค่ทุกคนช่วยกันบริจาคโลหิตเพิ่มขึ้น จาก 1 ครั้ง เป็น 2 ครั้งต่อปี จะทำให้มีโลหิตเพิ้มขึ้น
เพราะโลหิต 1 ถุง สามารถนำไปปั่นแยกเป็นส่วนประกอบโลหิต ได้ถึง 3 ชนิด ได้แก่
เม็ดเลือดแดงเข้มข้น
เกล็ดเลือดเข้มข้น
พลาสมา
ก็จะทำให้มีโลหิตนำมารักษาผู้ป่วยได้เพิ่มมากขึ้น
plus1giveblood
เพิ่มจำนวนครั้งเพิ่มโลหิตเพิ่มชีวิต
นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่MOVIE