Table of Contents
ทำเกษตรในพื้นที่ 1งาน มีอยู่มีกิน อยู่อย่างพอเพียง
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่
(13 ก.ค.)ทำเกษตรในพื้นที่ 1งาน
พี่ถัง ธวัฒน์ อัปมะทัง
บ้านกระแซง ต.กระแซง
อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ
เกษตรอินทรีย์ผสมผสาน..เดินตามศาสตร์พระราชา
เกษตรผสมผสานเกษตรอินทรีย์ ปรับเปลี่ยนพื้นที่จากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว มาปลูกผสมผสานเพื่ออนาคตลูกหลานได้มีกิน อยู่อย่างพอเพียง และลงมือทำคือคำตอบ
เกษตรไทยไอดอล | EP.119 ตอน เป็ดไข่โรงเรือน 18 ก.ย.60
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อำนวยการผลิต
ทุกจันทร์ 17.45 น. ช่อง 9 MCOT HD
นพดล เป็นเกษตรกรใครบอกว่ารวยไม่ได้ : มหาอำนาจบ้านนา (4 ก.ค. 64)
\”นพดล\” ผู้ที่ชื่นชอบและรักในการทำเกษตรมาตั้งแต่เด็ก เนื่องจากพ่อของเขาทำอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก ในอดีตพ่อของนพดลจะทำเกษตรแบบเชิงเดี่ยว ขายผลผลิตได้ในราคาต่ำและยังถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง นพดลจึงปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกมาเป็นแบบสวนผสมผสาน มีทั้ง เป็ด ไก่ไข่ และพืชผักสวนครัวที่ปลูกหมุนเวียนอยู่ในสวน จนตอนนี้สวนของเขาได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและเปิดตลาดให้เกษตรกรนำพืชผักมาวางขายได้อีกด้วย
ติดตามชมรายการมหาอำนาจบ้านนา วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม 2564 เวลา 16.05 16.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังทาง http://www.thaipbs.or.th/LordsOfFarm
เกษตรกร เกษตรเชิงเดี่ยว พืชผักสวนครัว
กด Subscribe ติดตามรายการดี ๆ ของช่อง ได้ที่ : http://thaip.bs/YSBht5j
และ ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่
Website : http://www.thaipbs.or.th
Facebook : http://www.fb.com/ThaiPBS
Twitter : http://www.twitter.com/ThaiPBS
Instagram : http://www.instagram.com/ThaiPBS
LINE : http://www.thaipbs.or.th/AddLINE
YouTube : http://www.youtube.com/ThaiPBS
#1ไร่หายจน #เกษตรผสมผสาน #แบบพอเพียง
พื้นที่ 1 ไร่ อาจดูไม่มากมาย แต่หากวางแผนอย่างรอบคอบ เราก็จะสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า สามารถสร้างรายได้ และสร้างความสุขให้กับครอบครัวได้อย่างยั่งยืน ด้วยการทำ เกษตรผสมผสาน
โดยแบ่งการใช้สอยออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ส่วนสำหรับสร้างที่อยู่อาศัย
2. ส่วนสำหรับปลูกพืชผลทางการเกษตร
ขอยกตัวอย่างคุณวีรยุทธ ศรีเลอจันทร์ เกษตรกรวิสาหกิจชุมชนเพชรพิมาย จะแนะนำให้แบ่งพื้นที่ 1 งานสำหรับสร้างบ้าน และบ่อเก็บน้ำ และเหลือพื้นที่ 3 งาน สำหรับการเพาะปลูก เน้นการปลูกพืช 3 ระยะ คือ
ระยะสั้น
ระยะกลาง
และระยะยาว
– พืชระยะสั้น เป็นพืชที่ใช้ระยะเวลาการปลูกสั้นๆ เน้นเก็บไว้ทานในครอบครัว และหากมีจำนวนมากเกินความต้องการ ก็สามารถนำมาขาย เพื่อเป็นรายจ่ายในชีวิตประจำวัน แต่เนื่องจากเรามีพื้นที่น้อย จึงต้องวางแผนการปลูก เลือกพันธุ์ผักที่เหมาะสม ราคาดี ใช้พื้นที่ทุกตารางนิ้วให้คุ้มค่า เช่น ถั่วงอก ต้นอ่อนทานตะวัน ผักบุ้งจีน กว้างตุ้ง เห็ดนางฟ้า ผักคื่นฉ่าย ผักกาดหอมหรือผักสลัด
– พืชระยะกลาง เป็นไม้ผล และผลไม้ระยะกลาง ที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการปลูก อาจเก็บผลผลิตได้ปีละ 12 ครั้ง หรือตามฤดูกาล เช่น มะนาว มะพร้าว มะละกอ กล้วย มะม่วง เป็นต้น โดยรายได้ส่วนนี้จะเก็บไว้สำหรับชำระหนี้ เป็นเงินออม หรือเป็นทุนในการซื้อเครื่องทุนแรงต่างๆ เช่น ระบบน้ำ หรือเครื่องตัดหญ้า เป็นต้นและด้วยข้อจำกัดของเนื้อที่ เราจึงต้องเน้นทำให้ผลผลิตออกในช่วงที่มีราคาแพง เช่น การปลูกมะนาวให้ออกลูกในช่วงหน้าแล้ง เดือนพฤศจิกายนเมษายน ก็จะได้ราคาที่สูงขึ้น เป็นต้น
– พืชระยะยาว เป็นกลุ่มไม้ เศรษฐกิจ ที่ต้องใช้ระยะเวลาหลายปีกว่าจะสามารถเก็บเกี่ยว หรือใช้ประโยชน์ได้ เช่น สักทอง ยางนา ไม้เต็ง ไม้แดง หรือไม้ประดู่ เป็นต้น โดยต้นไม้เหล่านี้เราจะเน้นการปลูกตามแนวเขตแดน หรือปลูกเป็นรั้ว เน้นปลูกช่วงต้นฤดูฝน ซึ่งแนวชายแดนของพื้นที่ 1 ไร้ จะมีความยาวมากถึง 160 เมตร หากเราปลูกต้นไม้ในระยะ 2 เมตร/ต้น ก็จะได้ไม้เศรษฐกิจ 80 ต้น ในช่วงระหว่างที่ไม้เศรษฐกิจเหล่านี้กำลังเติบโต พื้นที่ระหว่างต้น ก็สามารถปลูกมะละกอ พันธ์ดีแซมระหว่างกลางได้ เช่น พันธ์แขกดำ แขกนวล พันธ์ต้นเตี้ย เพชรพิมาย เป็นต้น
ในช่วงปีแรกรายได้ต่อเดือนอาจจะ เป็นหลักพันบาท แต่ในปีต่อๆไป เมื่อต้นไม้เริ่มโตขึ้น ออกดอก ออกผลมากขึ้น เราก็จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น เราควรต้องใช้ชีวิตแบบพอเพียง เรียบง่าย ไม่ใช้จ่ายเกินตัว
ข้อดีของการปลูกพืชในพื้นที่น้อย
1. สามารถดูและ และควบคุมได้ทั่วถึง
2. ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานเยอะ สามารถทำเองได้ภายในครอบครัว
3. เนื่องจากมีเนื้อที่จำกัด จึงต้องปลูกพืชแบบผสมผสาน มีความเสี่ยงน้อย
4. เริ่มต้นแบบเล็กๆ เมื่อได้รับผลตอบแทนที่ดี และมีประสบการณ์มากขึ้น ก็สามารถขยายเพิ่มเติมได้ง่าย
นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆMOVIE